ในยุคปัจจุบันนี้ที่โลกออนไลน์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันมากขึ้นไม่ว่าจะใช้ในการซื้อสินค้า ทำธุรกรรม หรือเพื่อความบันเทิง ล้วนแล้วแต่เพิ่มโอกาสให้ภัยคุกคามจากโลกออนไลน์เข้ามาใกล้ตัวเรามากขึ้น เช่น การถูกขโมยข้อมูลส่วนตัว (Data Breach) การหลอกลวง (Phishing) ทำให้ผู้ที่วางระบบ IT ต้องให้ความสำคัญกับสิ่งที่เรียกว่า Cyber Security มากยิ่งขึ้นด้วยนั่นเอง
Cyber Security คืออะไร?
Cyber Security คือ การรักษาความปลอดภัยทางโลกออนไลน์ หากเปรียบสถานที่ต่าง ๆ บนโลกจริงต้องมีคนคอยดูแลรักษาความปลอดภัย การใช้งานระบบ IT หรือโลกออนไลน์ก็จำเป็นต้องมีตัวช่วยในการดูแลความปลอดภัยให้กับผู้ใช้งานไม่ต่างกัน เป็นการดูแลที่ครอบคลุมทุกช่องโหว่ของ IT Network เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาจากผู้ไม่ประสงค์ดี หรือจากเหล่า Hacker และมิจฉาชีพที่ต้องการข้อมูลสำคัญของผู้ใช้งานไปใช้ในทางที่ผิดกฎหมาย หรือส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินส่วนตัวหรือส่วนรวม
องค์ประกอบหลักของ Cyber Security มีอะไรบ้าง ?
สำหรับการรักษาความปลอดภัยทางโลกออนไลน์ (Cyber Security) บน ระบบ IT จะมีองค์ประกอบหลัก ๆ ที่สำคัญ 3 ส่วน เรียกว่า CIA Triad ซึ่งจะประกอบไปด้วย
-
- Confidentiality (การรักษาความลับ) เป็นสิ่งที่จะช่วยปกป้องข้อมูลของผู้ใช้งานจากการเข้าถึงที่ไม่ปลอดภัยหรือไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ใช้งาน เช่น การเข้ารหัสข้อมูลที่สำคัญ หรือการกรอกรหัสผ่านเฉพาะบุคคลเพื่อเข้าถึง เป็นต้น
- Integrity (ความถูกต้องของข้อมูล) เป็นการรักษาความถูกต้องของข้อมูลเพื่อไม่ให้เกิดการแทรกแซง เปลี่ยนแปลงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต เช่น การกำกับด้วย Digital Signature หรือการป้องกันการแก้ไขข้อมูลจากบุคคลภายนอก เป็นต้น
- Availability (ความพร้อมในการใช้งาน) เป็นการดูแลข้อมูลให้พร้อมเข้าถึงในตอนไหนก็ได้หากผู้ใช้งานต้องการเรียกดูข้อมูล เช่น การมีระบบสำรองข้อมูล การป้องกันการโจมตี DDoS เป็นต้น
ประเภทของภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่พบบ่อย
สำหรับภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เป็นปัญหาต่อผู้ใช้งานระบบออนไลน์ IT Network ทำให้เกิดความเสียหายทั้งต่อข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ หรืออาจส่งผลต่อความเสียหายทางทรัพย์สินของผู้ใช้งานได้ มีดังต่อไปนี้
-
- Malware: เป็นโปรแกรมที่มีความอันตรายต่อระบบคอมพิวเตอร์และระบบข้อมูล มักถูกออกแบบมาเพื่อเจาะเข้าถึงข้อมูลที่ไม่ได้รับอนุญาต หรือเพื่อสร้างความเสียหายต่อระบบข้อมูล
- Phishing: เป็นการหลอกลวงเพื่อเอาข้อมูลส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็น Username, Password หรือรหัสผ่านสำคัญในการทำธุรกรรมทางการเงิน ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น ออกแบบเว็บไซต์ธนาคารปลอมเพื่อหลอกเก็บข้อมูล หรือส่งอีเมลปลอม โดยมักทำให้ดูมีความน่าเชื่อถือจนเหยื่อหลงเชื่อ
- Ransomware: เป็นมัลแวร์ประเภทหนึ่งที่จะทำการเข้ารหัสข้อมูลของผู้ใช้งานแลกกับการจ่ายค่าไถ่เพื่อนำข้อมูลกลับคืน
-
- DDoS (Distributed Denial of Service): เป็นการโจมตีเว็บไซต์ด้วยการส่งคำขอไปยังเป้าหมายหลาย ๆ ครั้งเพื่อทำให้เซิร์ฟเวอร์ล่ม
- Data Breach: เป็นการละเมิดข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนหรือข้อมูลที่เป็นความลับ อาจจะด้วยการ Hack ระบบหรือจากความผิดพลาดในการจัดเก็บข้อมูลที่ไม่ปลอดภัยและไม่ได้มาตรฐาน เป็นต้น
- Website Defacement: เป็นการ Hack หน้าเว็บไซต์และทำการเปลี่ยนแปลงหน้าเว็บใหม่โดยไม่ได้รับอนุญาต มักมีจุดประสงค์เพื่อทำลายความน่าเชื่อถือ และสร้างความเสียหายต่อเป้าหมาย
ความเสี่ยงและผลกระทบจากภัยคุกคามออนไลน์
ถ้าหากพูดคำว่าภัยคุกคามออนไลน์ หลายคนอาจจะยังคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว แต่แท้จริงแล้วภัยบนโลกออนไลน์นั้นอยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด สามารถเกิดได้ทั้งกับบุคคลทั่วไปจนไปถึงระบบ IT Network องค์กรขนาดใหญ่ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสังคมองค์รวมได้มากกว่าที่คาดคิด
- ความเสี่ยง ระบบ IT ที่เกิดกับบุคคลทั่วไป เช่น การโจรกรรมข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อนำไปใช้ในวัตถุประสงค์ที่ผิด ทำให้ข้อมูลส่วนตัวตกอยู่ในมือมิจฉาชีพ หรือการหลอกลวงให้โอนเงิน เสียทรัพย์สินผ่านการสร้างเว็บปลอม ลิงก์ปลอมเพื่อดูดเงิน
- ความเสี่ยง ระบบ IT ในระดับองค์กร เช่น การโจมตีฐานข้อมูลทำให้ข้อมูลลับรั่วไหลสู่คู่แข่ง การโจมตีระบบในช่วงเวลาสำคัญ ทำให้เกิดความเสียหายและเสียความน่าเชื่อถือขององค์กร
- ความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจและสังคม เช่น การ Hack ข้อมูลประชาชนกลุ่มใหญ่เพื่อขายต่อให้กลุ่มผู้ไม่ประสงค์ดี ทำให้เกิดความเสียหายเป็นวงกว้างระดับประเทศ เป็นต้น
วิธีการรักษาความปลอดภัยออนไลน์ สำหรับองค์กร
สำหรับการรักษาความปลอดภัยสำหรับองค์กรนั้นต้องเริ่มต้นตั้งแต่การวางระบบ IT หรือ IT Network ที่มีประสิทธิภาพและดูแลข้อมูลด้านต่าง ๆ ได้อย่างครบถ้วน ครอบคลุม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการใช้ระบบ Firewall และการเข้ารหัสข้อมูล หรือมีการจัดอบรมพนักงานเกี่ยวกับความปลอดภัยทางไซเบอร์ เพื่อให้พนักงานมีความรู้เบื้องต้น และสามารถระมัดระวังช่องโหว่ที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้งานระบบ IT ภายในองค์กร
รวมถึงองค์กรควรจะต้องมีแผนรับมือกับเหตุการณ์โจมตี (Incident Response Plan) ที่อาจเกิดขึ้นในช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่ง เพื่อให้พนักงานในองค์กรสามารถรับมือ จัดการ และแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบไม่ตื่นตระหนกเมื่อเกิดเหตุการณ์โจมตีทางระบบออนไลน์เกิดขึ้นภายในองค์กร
นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ช่วยป้องกันภัยไซเบอร์
นอกจากการป้องกันและระมัดระวังภัยจากระบบ IT ด้วยตัวเองหรือการอบรมพนักงานแล้ว เราสามารถนำเอานวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยเพิ่มความหนาแน่นให้กับระบบ IT Network ของเราได้ด้วยเช่นกัน โดยในปัจจุบันเพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับฐานข้อมูล เราสามารถเลือกใช้วิธีต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับการทำงานได้ดังนี้
- AI และ Machine Learning ในการตรวจจับภัยคุกคาม
- การใช้ Blockchain ในการรักษาความปลอดภัยข้อมูล
- ระบบยืนยันตัวตนแบบสองขั้นตอน (2FA)
- การรักษาความปลอดภัยแบบ Zero Trust
- การใช้คอมพิวเตอร์คลาวดิ้ง
บทสรุป
จากปัญหาที่อาจเกิดขึ้นเป็นภัยคุกคามทางไซเบอร์เรียกได้ว่ามีกันทุกรูปแบบ ดังนั้นสิ่งที่เรียกว่า Cyber Security นั้น ถือว่ามีความสำคัญมาก ๆ ที่พนักงานและคนในองค์กรจะต้องมีความตระหนักรู้และใส่ใจในเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลและการใช้งานระบบ IT หรือ IT Network ให้อยู่บนพื้นฐานความปลอดภัย เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือสำหรับภัยคุกคามบนโลกออนไลน์ที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างไม่คาดคิดในอนาคต
FAQ เกี่ยวกับ Cyber Security
Cyber Security ต่างจาก Data Privacy อย่างไร?
Cyber Security จะให้ความสำคัญมุ่งเน้นไปที่การปกป้องข้อมูลและระบบ IT จากการเข้าถึงหรือการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ได้รับอนุญาต
ในขณะที่ Data Privacy เป็นการมุ่งเน้นให้ความสำคัญที่การจัดการดูแลความเป็นส่วนตัวของข้อมูลอย่างเหมาะสม
จะรู้ได้อย่างไรว่าตกเป็นเหยื่อของภัยคุกคาม?
การรู้เท่าทันเมื่อตกเป็นเหยื่อภัยคุกคามออนไลน์ถือว่าเป็นสกิลใหม่ที่ทุกคนต้องมี โดยมีหลักการในการสังเกตว่า ระบบ IT หรือเครือข่าย IT Network ของเรากำลังถูกคุกคามง่าย ๆ คือ
- คอมพิวเตอร์ผิดปกติ เช่น เครื่องช้า โปรแกรมที่เคยใช้งานได้ดีกลับผิดปกติ หรือคอมพิวเตอร์แสดงอาการแปลกจากเดิม
- มีโปรแกรมที่ไม่รู้จักปรากฏให้เห็น
- มีหน้าต่าง Pop-up ขึ้นมากผิดปกติ
- มีการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าเอง
- ได้รับอีเมล หรือข้อความแปลก ๆ
Antivirus สำคัญแค่ไหน?
การติดตั้งโปรแกรม Antivirus มีความสำคัญสูงมากในการใช้ระบบ IT ไม่ว่าจะในที่ทำงานหรือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เพราะเป็นเหมือนด่านแรกที่จะช่วยกำจัดมัลแวร์ หรือสิ่งไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ ที่จะเข้ามาโจมตีระบบคอมพิวเตอร์ของเรา โดยควรเลือกโปรแกรม Antivirus ที่มีการอัปเดตอย่างสม่ำเสมอ และมีความทันสมัย
มีวิธีป้องกัน Phishing (การหลอกลวงทางออนไลน์) อย่างไร?
การหลอกลวงออนไลน์ อาจไม่ได้มาในรูปแบบของการติดตั้งตัวเองลงในระบบคอมพิวเตอร์เหมือนอย่างภัยคุกคามอื่น ๆ แต่จะเล่นกับความเชื่อ ความคิด และการตัดสินใจของผู้ใช้งาน เช่น การหลอกล่อให้หลงเชื่อผ่านอีเมล เว็บไซต์ หรือข้อความทำให้เหยื่อหลงเชื่อ
การป้องกัน Phishing สามารถทำได้ง่าย ๆ เพียงแค่ตั้งสติและใช้การสังเกตก่อนกรอกข้อมูลใด ๆ ก็ตามลงในระบบ IT หรืออินเทอร์เน็ต ดังนี้
- ตรวจสอบ URL เว็บไซต์อย่างละเอียด ป้องกันการถูกหลอกด้วยเว็บปลอม
- ไม่เปิดลิงก์จากอีเมลและข้อความจากแหล่งที่มาที่ไม่รู้จัก
- ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวบนโลกออนไลน์
- ใช้การเข้ารหัสแบบ 2FA
- ไม่กรอกข้อมูลส่วนตัวเมื่อใช้ Wi-Fi สาธารณะ
- ติดต่อสถาบันการเงินก่อนทำธุรกรรมใด ๆ ที่ไม่น่าไว้วางใจ
เฮลโหลไพน์ (Hellopine) บริการที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีที่ให้บริการโซลูชันไอทีครบวงจรสำหรับองค์กรธุรกิจและสำนักงานต่างๆ เราออกแบบและวางโครงสร้างระบบ IT ที่เหมาะสมกับธุรกิจของคุณโดยเฉพาะ ติดต่อ Hellopine เพื่อรับคำปรึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญ โทร 02-100-5073 หรือทางเว็บไซต์ www.hellopine.com